สังคมที่มีสัดส่วนของประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่า 10% ของประชากรทั้งหมด หรือมีอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่า 7% ของประชากรทั้งหมด โดยข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติระบุว่า ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาได้ หากภาครัฐไม่ได้เตรียมการอย่างเหมาะสม เนื่องจากภาระของประเทศในการเลี้ยงดูผู้สูงอายุนั้นเพิ่มขึ้นจากค่าใช้จ่ายด้านประกันชราภาพและค่ารักษาพยาบาล
ในปี พ.ศ.2553 ประเทศไทยมีอัตราการเป็นภาระในวัยสูงอายุ (Old – Age Dependency Ratio) ซึ่งก็คือ สัดส่วนผู้สูงอายุ (ผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปี) ต่อผู้ที่อยู่ในวัยทำงาน (ผู้มีอายุระหว่าง 15 - 59 ปี) อยู่ที่วัยทำงาน 6 คนต่อผู้สูงอายุ 1 คน และมีการคาดการณ์ไว้ว่าวัยทำงานจะลดลงเหลือเพียง 3 คนต่อผู้สูงอายุ 1 คนในปี พ.ศ.2570 นอกจากนี้ ยังอาจส่งผลให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจชะลอตัวลง เพราะจำนวนคนวัยทำงานลดลง ซึ่งกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF) ประมาณการไว้ว่าช่วงปี พ.ศ.2553 - 2593 (ค.ศ.2010 - 2050) เศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่น สเปน และเยอรมนีจะขยายตัวลดลง 0.7% จากปัญหาสังคมผู้สูงอายุ
ค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น สวัสดิการของรัฐที่มีอยู่คงจะไม่เพียงพอ อีกทั้งขนาดของครอบครัวที่เล็กลง การพึ่งพาตนเองในวัยเกษียณจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก การออมเงินอย่างสม่ำเสมอและการลงทุนอย่างรอบคอบ เพื่อให้มีเงินเพียงพอสำหรับชีวิตสบาย ๆ ในวัยเกษียณจึงเป็นเรื่องที่ต้องเริ่มลงมือทำอย่างจริงจัง
อ่านเนื้อหาเกี่ยวกับการวางแผนการเงินเพิ่มเติม >> คลิกที่นี่
Aging Society
สังคมผู้สูงอายุ